กรรตุการก | (กัดตุ-, กันตุ-) น. ผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง เด็ก เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ตำรวจ เป็น กรรตุการก. |
กอง ๒ | น. กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, เรียกหัวหน้าทหารหรือตำรวจที่มียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก ว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไป เรียกว่า ผู้กอง เฉพาะกองร้อยตำรวจเอกนิยมเรียกว่า สารวัตร หรือ ผู้บังคับกอง |
กินแหนง | ก. สงสัย, ระแวง, ไม่แน่ใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ แคลงใจ เป็น กินแหนงแคลงใจ. |
คร้าน | (คฺร้าน) ว. มีความรู้สึกไม่อยากจะทำหรือคิดหรือไม่อยากแสดงอาการใด ๆ, ตามปรกติเมื่อใช้พูดมักมีคำ ขี้ ประกอบหน้า เช่น ขี้คร้าน และมักใช้เข้าคู่กับคำ เกียจ เป็น เกียจคร้าน ขี้เกียจขี้คร้าน หมายความว่า ไม่อยากทำงาน. |
จะ ๑ | คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี จ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น แจ้งแจ้ง กร่อนเป็น จะแจ้ง แจ่มแจ่ม กร่อนเป็น จะแจ่ม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้น. |
ฉันทาคติ | น. ความลำเอียงเพราะความรักใคร่ชอบใจ เป็นอคติ ๑ ในอคติ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. |
ตื่น | แสดงอาการผิดปรกติเพราะตกใจ ดีใจ หรือแปลกใจ เป็นต้น เช่น วัวตื่น ควายตื่น ตื่นเวที ตื่นยศ ตื่นไฟ |
มืออ่อนตีนอ่อน | ว. มีอาการหมดแรงเพราะรู้สึกตกใจ เสียใจ หรือเสียกำลังใจ เป็นต้น อย่างแรงและทันทีทันใด. |
เลิ่กลั่ก | ว. แสดงอาการทำหน้าตาตื่นเพราะอัศจรรย์ใจ แปลกใจ หรือตกใจ เป็นต้น. |
วาบ | ว. อาการที่รู้สึกร้อน เย็น กลัว ตกใจ เสียวใจ เป็นต้น ขึ้นทันทีแล้วหายไปดับไป เช่น เย็นวาบ ใจหายวาบ เสียววาบ |
วุ้ย | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกตกใจ เก้อเขิน หรือไม่พอใจ เป็นต้น (โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง) เช่น วุ้ย น่ารำคาญ. |
วูบ | ก. อาการที่หายไป จางไป อย่างรวดเร็ว เช่น ตะเกียงดับวูบ ลมพัดวูบ หลบวูบ, อาการที่ความรู้สึกร้อน เย็น กลัว ตกใจ เสียวใจ เป็นต้น แล้วหายไปจางไปอย่างรวดเร็ว เช่น ร้อนวูบ เย็นวูบ เสียววูบ |
โวยวาย | ก. ส่งเสียงร้องเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจ เป็นต้น เช่น พอประกาศเงินเดือนขึ้นอีกกลุ่มก็โวยวาย. |
สวาท | (สะหฺวาด) ก. รัก ยินดี หรือ พอใจ เป็นต้น (มักใช้ในเชิงปฏิเสธ) เช่น หน้าตาน่าสวาทนักนี่ คุณคิดว่าเขาสวาทคุณนักหรือ. |
หนักอก | ว. ลำบากใจ เพราะต้องแบกภาระไว้มาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำเป็นปัญหาหนักอกของรัฐบาล, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หนักใจ เป็น หนักอกหนักใจ. |
หน้างอ, หน้าง้ำ, หน้าเง้า, หน้าเง้าหน้างอ, หน้าบึ้ง, หน้าหงิก, หน้าหงิกหน้างอ | ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้น. |
หมวด | กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวนไม่เกิน ๔ หมู่ มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับหมวด หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมวด, ถ้าเป็นทหารบกหรือตำรวจจะต้องมียศเป็นร้อยตรี ร้อยโท หรือร้อยตำรวจตรี ร้อยตำรวจโท, ถ้าเป็นทหารเรือหรือทหารอากาศจะต้องมียศเป็นเรือตรี เรือโท |
หมู่ ๑ | กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวนไม่เกิน ๑๐ คน มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับหมู่ หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมู่, ถ้าเป็นทหารบกหรือตำรวจจะต้องมียศเป็นนายสิบ, ถ้าเป็นทหารเรือหรือทหารอากาศจะต้องมียศเป็นจ่า. |
หัว ๓ | ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, หัวเราะ หรือ หัวร่อ ก็ว่า, ใช้ว่า หวัว หวัวเราะ หรือ หวัวร่อ ก็มี. |
หัวร่อ | ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, หัวเราะ ก็ว่า, (โบ) เขียนเป็น หวัวร่อ ก็มี. |
หัวเราะ | ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, ใช้เข้าคู่กับคำ หัวไห้ เป็น หัวเราะหัวไห้ ก็มี, หัวร่อ ก็ว่า, (โบ) เขียนเป็น หวัวเราะ ก็มี. |
อนุรักษนิยม | (อะนุรักสะนิยม, อะนุรักนิยม) น. อุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่มีแนวโน้มไปในทางต้านทานการเปลี่ยนแปลง โดยยึดถือสนับสนุนระเบียบที่ตั้งมั่นอยู่แล้ว. |
อมนุษย์ | (อะมะ-) น. ผู้ที่มิใช่มนุษย์ (หมายรวมทั้ง เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย ภูตผีปิศาจ เป็นต้น) แต่โดยมากหมายถึง ภูตผีปิศาจ. |
อุทาน ๑ | น. เสียงหรือคำที่เปล่งออกมาเวลาตกใจ ดีใจ หรือเสียใจ เป็นต้น |
เอ๊ะ | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความฉงน ไม่เข้าใจ หรือไม่พอใจ เป็นต้น. |